วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปลาผีเสื้อพระจันทร์




ปลาผีเสื้อพระจันทร์ มีลำตัวแบนรูปไข่ แนวสันหลังโค้งมากกว่าด้านท้องหน้าผากลาดชัน ตาอยู่กึ่งกลางของหัว จะงอยปากนูนขึ้นมาเล็กน้อยและยาวกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของตา ปากเล็กตรง ริมฝีปากค่อนข้างหนา ขากรรไกรทั้งบนและล่างยาวเกือบเท่ากัน ฟันบนขากรรไกรเป็นขนแข็ง ๆ คล้ายขนแปรง ซี่เหงือกมี 13 ซี่ เกล็ดบนหัว บนครีบหลัง บนครีบทวารและครีบหางเล็กมาก เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี 38-40 เกล็ด เกล็ดเหนือเส้นข้างตัวมี 7-8 เกล็ด เกล็ดใต้เส้นข้างตัวมี 16-17 เกล็ด ครีบหลังโค้งมนประกอบด้วยก้านครีบแข็ง 12 อัน และก้านครีบอ่อน 23-25 ก้าน ฐานของก้านครีบแข็งของครีบหลังยาวกว่าฐานของก้านครีบอ่อน ครีบอกมนค่อนข้างสั้นกว่าส่วนหัว ครีบเอวปลายแหลมและสั้นกว่าครีบอกเล็กน้อยแต่ยาวรูก้น


พื้นสีตลอดหัว ลำตัวและครีบมีสีเหลือง มีแถบสีดำพาดขวางจากด้านบนของหัวผ่านตาลงมาสุดตอนเหนือของกระดูกหน้าแก้ม บนลำตัวมีรอยขีดเป็นทางสีส้มหรือแดงพาดเฉียงขนานขึ้นไปตามแถวของเกล็ด บริเวณตอนหน้าลำตัวด้านบนเหนือครีบอกมีรอยแต้มสีดำเป็นผืนใหญ่คล้ายรูปสามเหลี่ยมเชื่อมโยงกับแถบสีดำซึ่งพาดเป็นทางยาวโค้งไปตามฐานของครีบหลังไปสุดที่ฐานของครีบหาง แถบสีดำที่ฐานของครีบหางนี้ในปลาขนาดเล็กจะเป็นรอยแต้มกลมสีดำเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปลาการ์ตูนแดง




ปลาการ์ตูนแก้มหนาม หรือการ์ตูนทอง หรือการ์ตูนแดง เป็นปลาชนิดเดียวกัน (species) ลำตัวมีสีส้มแดง เมื่ออายุมากขึ้นสีจะแดงมากขึ้นจนเป็นสีแดงเข้มอมดำ ลำตัวมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ บริเวณหลังตา กลางลำตัว และโคนหาง ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือมีหนามแหลมบริเวณใต้ตา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 16 ซ.ม. พบได้ตามรอบนอกของแนวปะการัง และส่วนที่เป็นแนวปะการังลาดชัน มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolorในตลาดซื้อขายปลาสวยงามปลาชนิดนี้ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะสี คือ


1. ปลาการ์ตูนทอง ลักษณะคล้ายกับที่กล่าวมาแต่แถบสีขาวที่พาดขวางลำตัวเป็นสีขาวอมเหลืองทอง และสีแดงบริเวณลำตัวจะเข้มกว่าปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนทองเป็นปลาที่มีราคาแพงเป็นลำดับต้น ๆ ในกลุ่มปลาการ์ตูน


2. ปลาการ์ตูนแดง คล้ายกับปลาการ์ตูนทองแต่แถบที่สีขาวที่พาดขวางลำตัวจะเป็นสีขาว ปลาการ์ตูนแดงจะซื้อขายกันในราคาที่ถูกกว่าปลาการ์ตูนทองประมาณ 1 เท่าตัว

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปลาคาร์ฟ


ปลา่แฟนซีคาร์ฟ (Fancy Carp) เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลาในสกุล (Genus)เดียวกับปลาใน (Crucian Carp) ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cyprinus Carpio line เป็นปลาน้ำจืดที่มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ในบริเวณประเทศอิหร่านในปัจจุบันเป็นเวลาที่สามารถปรับตัวดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำจืด ที่มีอุณภูมิที่แตกต่างกันได้ดีมาก แม้ในสภาพอากาศร้อน ปลาชนิดนี้ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศได้ จึงแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้ทั่วโลก


ในยุคต้นๆชาวจีนนับเป็นชนชาติแรกที่รู้จักปลาไนซึ่งเป็นต้นตระักูลของปลาแฟนซีคาร์ฟมาเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีล่วงมาแล้ว โดยชาวจีนเรียกปลาไนว่า หลีจื้อ หรือ หลีโกวง ปลาไนน่าจะมีอิทธิพลต่อชาวจีนเป็นอันมาก ซึ่งจะพบหลักฐานอันเก่าแก่ที่สุดของปลาไนปรากฏในภาพเขียนของจีนสมัยราชวงศ์์โจว


เดิมทีปลาไนตามแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีเพียงสีดำ สีเทาดำ หรือสีน้ำตาลดำเท่านั้นเมื่อราวปี พ.ศ. 808 -859 ปรากฏว่ามีปลาไนบางตัวกลายพันธุ์เป็นสีส้ม ชาวจีนจึงนิยมนำมาเลี้ยงเพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อชมความสวยงามจนเป็นที่แพร่หลายต่อมาราวศตวรรษที่ 18 ที่เมืองโอจิยา(Ojiya) ซึ่งอยู่ในจังหวัดนิกาตะ(Neigate) ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นในเมืองนี้ได้นำปลาไนมาเลี้ยงไว้ในบ้านเพื่อประกอบเป็นอาหาร เนื่องจากชาวญุ่ปุ่นกลุ่มหนึ่ง ที่มีอาชีพทำนาตามภูเขาสูงในชนบท ซึ่งมีการคมนาคมที่ไม่สะดวกในยามที่มีหิมะตกชาวญี่ปุ่นไม่สามารถเดินทางออกนอกบ้านไปทำมาหากินได้

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปลาทองปอมปอน (Pompon)




ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ได้ มีลักษณะลำตัวสั้น มองจากด้านบนจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายปลาทองหัวสิงห์แต่แตกต่างกันตรงส่วนหัว โดยผนังกั้นจมูกของปลาทองปอมปอนจะขยายเจริญเติบโตออกมาข้างนอกเป็นพู่ 2 ข้างทำให้แลดูแปลกตาออกไป มีช่วงลำตัวยาวและเพรียวกว่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่น ๆ ปลาทองปอมปอนที่นิยมมากที่สุดคือพันธุ์สีแดงไม่มีครีบหลัง สายพันธุ์ปอมปอนแบ่งออกเป็นปอมปอนหัวสิงห์ ปอมปอนออแรนดา ปลาทองสายพันธุ์นี้บ้านเราไม่ค่อยได้รับความนิยมแพร่หลายมากเท่าใดนัก สาเหตุอาจเป็นเพราะปลาสายพันธุ์นี้โดยมากมีทรวดทรงที่ไม่สวยงามเท่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่นขณะเดียวกันเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ได้ยาก และปลาที่เพาะพันธุ์ได้โดยมากเป็นปลาพิการเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงทำให้ปลาชนิดนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่นักเพาะพันธุ์ปลาระดับมืออาชีพ เนื่องจากเพาะแล้วไม่ค่อยคุ้ม