วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ปลาหมอสี



ปลาหมอตัวแรกที่นำเข้ามาชื่อแจ็คเดมเซย์ต่อมาก็คือออสก้าเป็นปลาหมออีกชนิดหนึ่งเช่นกัน ส่วนประวัติปลาหมอสีที่นำเข้ามานั้นอยู่ในช่วงประมาณ 30 ปี ขึ้นไปจะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่วางไข่อยู่กับพื้น หรือซิคลาโซนา(ciclasona) มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา คือแถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ บราซิล และลุ่มน้ำอะเมซอนเป็นหลักใหญ่ซึ่งได้แก่ ปลาเซวาลุ่มทอง ที่กำลังนิยมอยู่ตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีพวกซิลสไปลุ่ม และปลาหมอมาคูลิคัวด้า กลุ่มที่อมไข่ไว้ในปาก มาจากทะเลสาปอัฟริกาหรืออัฟริกาใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ ปลาที่นิยมเลี้ยงก้จะมาจากทะเลสาปมาลาวีแถว ๆ แถบแทนซาเนียและก็มีพวกแซ พวกซาอี ซึ่งเป็นพวกนิยมจับปลาหมอและก็พวกนี้อีกเช่นกันที่เอาออกมาขายสู่ตลาดโลก ชื่อไทย ปลาออสก้า ชื่ออังกฤษ Oscar , Velvet Cichlid ถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นปลาที่มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ที่ประเทศบราซิล พบในแม่น้ำอเมซอน พารานา ริโอเนโกร รูปร่างลักษณะ ปลาออสก้า เป็นปลาลำตัวกว้างลึก ปัจจุบันปลาออสก้าที่เลี้ยงในเมืองไทย ทั้งปลาออสก้าลายเสือและปลาออสก้าสีทอง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ผสมขึ้นได้เอง ในเมืองไทย ส่วนปลาออสก้าพันธุ์ดั้งเดิมนั้นมีสีค่อนข้างดำ มีเกล็ดสีแดงอยู่เพียงไม่กี่เกล็ด ปลาออสก้าลายเสือ มีลำตัวสีเขียวปนเทาลายข้างตัว เป็นสีส้ม เมื่อมีการให้อาหารอย่างดี คัดเลือกและผสมพันธุ์เรื่อยๆ มา ก็จะได้ปลาออสก้าลายแดง และเพิ่มขึ้นเป็นออสก้าสีทอง และเผือก อุปนิสัย ปลาออสก้าเป็นปลาที่แข็งแรง กินเก่ง นิสัยค่อนข้างดุ


แหล่งกำเนิด แหล่งกำเนิด (Origin) ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ ทะเลสาบ หนองบึ่ง คูคลองต่างๆ โดยมีแหล่งกำเนิดจาก 2 กลุ่มใหญ่ๆ ในโลก คือ
กลุ่ม New world ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกใหม่ ได้แก่ แถบอเมริกากลาง -ใต้ เช่น แท๊กซัสตอนใต้ ลงมาจนถึงอาเจนตินาของอเมริกาใต้ ,คอสตาริกา ,นิการากัว , บราซิล, ลุ่มแม่น้ำอเมซ่อน, เกาะมาดากาสการ์ , เกาะศรีลังการ, ชายฝั่งทะเลตอนใต้ของอินเดีย ฯลฯ
กลุ่ม Old world ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกเก่า ได้แก่ แถบแอฟริกาใต้, ในทะเลสาบมาลาวี(Lake Malawi ), ทะเลสาบแทนกานยิกา (Lake Tanganyika ), ทะเลสาบวิคตอเลีย(Lake Victoria), แถบแทนซาเนีย ฯลฯ ทะเลสาบมาลาวี ( Lake Malawi ) ทะเลสาบมาลาวี คือแหล่งน้ำและปลา ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติหลักของชาวมาลาวี มีปลามากมายหลากหลายพันธ์ ที่อาศัยอยู่ใน ทะเลสาบแห่งนี้

1 ความคิดเห็น:

กระต่าย กล่าวว่า...

อาจารย์สั่งงานให้ทำเกี่ยวกับ Windows XP เยอะมากๆๆเลย