วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ปลาหมอสี



ปลาหมอตัวแรกที่นำเข้ามาชื่อแจ็คเดมเซย์ต่อมาก็คือออสก้าเป็นปลาหมออีกชนิดหนึ่งเช่นกัน ส่วนประวัติปลาหมอสีที่นำเข้ามานั้นอยู่ในช่วงประมาณ 30 ปี ขึ้นไปจะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่วางไข่อยู่กับพื้น หรือซิคลาโซนา(ciclasona) มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา คือแถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ บราซิล และลุ่มน้ำอะเมซอนเป็นหลักใหญ่ซึ่งได้แก่ ปลาเซวาลุ่มทอง ที่กำลังนิยมอยู่ตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีพวกซิลสไปลุ่ม และปลาหมอมาคูลิคัวด้า กลุ่มที่อมไข่ไว้ในปาก มาจากทะเลสาปอัฟริกาหรืออัฟริกาใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ ปลาที่นิยมเลี้ยงก้จะมาจากทะเลสาปมาลาวีแถว ๆ แถบแทนซาเนียและก็มีพวกแซ พวกซาอี ซึ่งเป็นพวกนิยมจับปลาหมอและก็พวกนี้อีกเช่นกันที่เอาออกมาขายสู่ตลาดโลก ชื่อไทย ปลาออสก้า ชื่ออังกฤษ Oscar , Velvet Cichlid ถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นปลาที่มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ที่ประเทศบราซิล พบในแม่น้ำอเมซอน พารานา ริโอเนโกร รูปร่างลักษณะ ปลาออสก้า เป็นปลาลำตัวกว้างลึก ปัจจุบันปลาออสก้าที่เลี้ยงในเมืองไทย ทั้งปลาออสก้าลายเสือและปลาออสก้าสีทอง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ผสมขึ้นได้เอง ในเมืองไทย ส่วนปลาออสก้าพันธุ์ดั้งเดิมนั้นมีสีค่อนข้างดำ มีเกล็ดสีแดงอยู่เพียงไม่กี่เกล็ด ปลาออสก้าลายเสือ มีลำตัวสีเขียวปนเทาลายข้างตัว เป็นสีส้ม เมื่อมีการให้อาหารอย่างดี คัดเลือกและผสมพันธุ์เรื่อยๆ มา ก็จะได้ปลาออสก้าลายแดง และเพิ่มขึ้นเป็นออสก้าสีทอง และเผือก อุปนิสัย ปลาออสก้าเป็นปลาที่แข็งแรง กินเก่ง นิสัยค่อนข้างดุ


แหล่งกำเนิด แหล่งกำเนิด (Origin) ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ ทะเลสาบ หนองบึ่ง คูคลองต่างๆ โดยมีแหล่งกำเนิดจาก 2 กลุ่มใหญ่ๆ ในโลก คือ
กลุ่ม New world ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกใหม่ ได้แก่ แถบอเมริกากลาง -ใต้ เช่น แท๊กซัสตอนใต้ ลงมาจนถึงอาเจนตินาของอเมริกาใต้ ,คอสตาริกา ,นิการากัว , บราซิล, ลุ่มแม่น้ำอเมซ่อน, เกาะมาดากาสการ์ , เกาะศรีลังการ, ชายฝั่งทะเลตอนใต้ของอินเดีย ฯลฯ
กลุ่ม Old world ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกเก่า ได้แก่ แถบแอฟริกาใต้, ในทะเลสาบมาลาวี(Lake Malawi ), ทะเลสาบแทนกานยิกา (Lake Tanganyika ), ทะเลสาบวิคตอเลีย(Lake Victoria), แถบแทนซาเนีย ฯลฯ ทะเลสาบมาลาวี ( Lake Malawi ) ทะเลสาบมาลาวี คือแหล่งน้ำและปลา ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติหลักของชาวมาลาวี มีปลามากมายหลากหลายพันธ์ ที่อาศัยอยู่ใน ทะเลสาบแห่งนี้

ปลากัด



ปลากัด เป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบแพร่กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยลักษณะที่อยู่อาศัย : อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนองบึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ ในบริเวณที่มีระดับน้ำตื้นๆ น้ำค่อนข้างใส น้ำนิ่งหรือไหลเอื่อยๆ มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นประปราย ชอบว่ายน้ำช้าๆ บริเวณผิวน้ำ
หรือที่ชาวต่างประเทศรู้จักเป็นอย่างดีในชื่อภาษาอังกฤษว่า Fighting Fish นั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens Regan เป็นปลาเพื้อนเมืองของประเทศไทย เราพบพร่กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศ สำหรับในต่างประเทศมีที่ มาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และจีน เป็นต้น....


วิธีการเพาะพันธุ์

นำขวดปลาเพศผู้และเมียมาวางติดกัน วิธีนี้เรียว่า เทียบคู่ ซึ่งควรจะเป็นบริเวณที่ปราศจากสิ่งรบกวน จะทำให้ปลา ตกใจ ใข้เวลาเทียบคู่ประมาณ 3-10 วัน จากนั้นนำปลาเพศผู้และเมียใล่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับผสมพันธุ์ เช่น ขันพลาสติก โหลแก้ว อ่างดิน ใส่น้ำให้มีระดับ 5 เซนติเมตร เพื่อมิให้ตัวผู้เหนื่อยมากเกินไปในขณะที่ลำเลียงไข่ของตัวเมียไปไว้ที่รัง ซึ่งจะทำให้ ไข่เสียหายน้อย แล้วใส่พรรณไม้น้ำที่นิยมใช้ ได้แก่ สาหร่ายพุงชะโด สาหร่ายหางกระรอก จอก ใบผักตบชวา เป็นต้น ควรจะมีฝาปิด ภาชนะที่ผสมพันธุ์ ตัวเมียจะเริ่มก่อหวดติดกับพรรณไม้น้ำ หลังจากสร้างหวอดเสร็จตัวผู้จะพองตีวกางครีบ ไล่ต้อนตัวเมียให้ไป อยู่ใต้หวอด ขณะที่ตัวเมียลอยขึ้นมาบิรเวณผิวน้ำ ปลาตีวผู้จะรัดตัวเมียตรงบริเวณช่องอวัยวะเพศ จากนั้นไข่ก็จะหลุดออกมา พร้อมกับตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม และปลาตัวผู้าจะตามลงไปใช้ปากดูดอมไข่ไว้ ว่ายน้ำขึ้นไปพ่นไข่เข้าไปไว้ในฟองอากาศจนกว่า จะหมด เมื่อสิ้นสุดการวางไข่ปลาตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลไข่เพียงลำพัง และจะไล่ต้อนตัวเมียไปอยู่ที่มุมภาชนะ หลังจากนั้นรีบนำปลา ตัวเมียออกจากภาชนะ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาตัวเมียกินไข่ ปล่อยให้ปลาตัวผู้ดูแลไข่ 2 วัน จึงแยกตัวผู้ออก ต้องระวังการกระแทก ที่จะทำให้ไข่ได้รับการเสียหาย

วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ปลาโนรี


ลำตัวแบนและกว้าง แนวสันโค้งสูงชันขึ้นไปมาก หัวเล็ก จะงอยปากทู่ยื่นออกไปเพียงเล็กน้อย ปากเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 11 – 12 อัน โดยอันที่ 4 ยาวออกไปเป็นเส้นเลยปลายหาง ครีบหูแหลม ครีบทวารยื่นออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยมยอดมน ครีบหางปลายตัดโค้งงอเล็กน้อย ขนาดยาวประมาณ 20 เซนติเมตร พื้นผิวลำตัวสีมุก มีแถบสีดำอมม่วงคาดตามขวางผ่านลำตัว แถบแรกพาดจากก้านครีบแข็ง 3 อันแรก ผ่านครีบหูหลังไปยังครีบท้องและก้านแข็งของครีบท้อง แถบที่สองพาดจากก้านแข็งอันที่ 5 – 8 โค้งลงมาจรดส่วนท้ายของครีบทวาร เหนือจะงอยปากมีรอยแต้มสีดำ 1 รอบ บนหน้าผากระหว่างตาทั้งสองมีแถบสีม่วงดำ พาดขวาง ส่วนครีบต่างๆ มีสีเหลือง ปลาโนรีอาศัยอยู่ตามเกาะแก่งและแนวปะการัง

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ปลาเทวดา


ปลาเทวดา (Angel fish) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมที่อเมริกาใต้ แถบลุ่มน้ำโอริโนโก ลุ่มน้ำอเมซอน เป็นปลาที่มีรูปร่างแบนข้าง ลำตัวกว้างลึก ครีบหลังเป็นกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบด้านท้องก็ทำนองเดียวกัน ครีบหางบางเป็นแพนใหญ่ รูปทรงเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากรมฝีปากค่อนข้างเล็ก ดวงตากลมโต ปลาเทวดาเป้นปลาแปลก บางครั้งรักสงบ ชอบอยู่นิ่ง ๆ ไม่ตื่นตกใจง่าย แต่ในทางตรงกันข้ามในบางครั้งก็มีนิสัยก้าวร้าว หวาดระแวงและขี้ตื่นตกใจ ปลาเทวดาบางตัวเลี้ยงให้คุ้นได้ง่าย แต่บางตัวคุ้นเคยยากมีแต่ความหวาดระแวง ตื่นตกใจและไม่ยอมกินอาหารและเป็นปลาที่ค่ินข้างใจเสาะ เสียชีวิตง่าย ถ้าการเอาใจใส่ดูแลไม่ดีพอ น้ำในตู้เสียหรือผิดปกติไปจากเดิมปลาจะแสดงอาการไม่ปกติทันที ในต่างประเทศเคยใช้วิธีหย่อนอ่างปลาลงไปในขุมเหมืองลึก ๆ ถ้าในขุมเหมืองมีแก๊สพิษ เมื่อดึงขึ้นมาปลาก็จะตาย โดยทั่วไปปลาเทวดาเป็นปลารักสงบ พอจะปล่อยเลี้ยงรวมกันหลาย ๆ ตัวในตู้กระจกที่กว้างขวางพอและมีพันธุ์ไม้น้ำสำหรับเป็นที่หลบอาศัยบ้าง ปลาเทวดาเมื่อจับคู่กันแม่ปลาจะวางไข่ติดกับวัสดุในน้ำเช่น ใบไม้ รากไม้หรือแผ่นหิน การเพาะเลี้ยงลูกปลาเทวดาต้องใช้ฝีมือพอสมควร สำหรับอาหารที่ให้ได้แก่ ไรน้ำ ลูกน้ำ เนื้อกุ้งสับ และอาหารเม็ดสำเร็จรูป เป็นต้น




เป็นปลาแบนข้าง ลำตัวมีความกว้างลึก ครีบหลังกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหางบางเป็นแผ่นใหญ่ รูปร่างของปลาเทวดาเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ดวงตาโตกลม