วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

ปลามะเขือเทศ


ชื่ออังกฤษ : Red Clownfish

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tomato Clown

วงศ์ : POMACENTRIDAE

ปลามะเขือเทศ ลักษณะลำตัวปลาขนาดเล็กลำตัวแบนทางด้านข้าง รูปร่างโดยทั่วไปคล้ายคลึง กับปลาอินเดียนแดง ความยาวประมาณ 8 เซนติเมตร พื้นผิวลำตัว สีส้มด้านหลังตามีแถบสีขาวคาดตามขวาง 1 แถบชัดเจน และไม่จางหาย ไปแม้จะเจริญเต็มที่ ปลาชนิดนี้อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลในบริเวณแนวปะการังทางฝั่ง มหาสมุทรอินเดีย

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551

ปลาตะพัด หรือปลาอะโรวาน่า



ในวงการปลาสวยงาม หากจะกล่าวถึงปลาโบราณที่มีความสวยงาม หากยากและมีราคาแพงแล้ว คงหนีไม่พ้นที่จะต้องกล่าวถึง ปลาตะพัด ปลามังกรหรือปลาอะโรวาร่า Scleropages formosus (Muller & Schlegel) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในความนิยมตลอดกาล ทั้งนี้เพราะความสวยงาม ความสง่างามและความเชื่อที่ว่าจะนำมาซึ่งโชคลาภ ส่งผลให้มีผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามหลายท่านได้พยายามเสาะแสวงหา เพื่อให้ได้ปลาชนิดนี้มาประดับบารมี หรือเลี้ยงไว้เป็นเพื่อนคลายเหงา ปลาตะพัดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว อายุยืน และมีความคุ้นเคยกับผู้เลี้ยงเป็นอย่างดีปลาตะพัดจะพบได้ในแหล่งน้ำเพียงไม่กี่แห่งในโลก และจากการศึกษาซากฟอสซิล (fossil) ของปลาดังกล่าว ปรากฏว่า ซากปลาที่ค้นพบมีอายุประมาณ 60 ล้านปีล่วงมาแล้ว โดยมีผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้สันนิษฐานว่า ปลาในตระกูลนี้อาจเคยมีชีวิตอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วโลก แต่เนื่องจากความผันแปรทางธรรมชาติ จึงทำให้ปลาชนิดนี้ได้สูญหายไปจากซีกโลกบางส่วน (สุรศักดิ์,2531)



ปลาตะพัด หรือปลาอะโรวาน่า พบแร่กระจายอยู่ทั่วไป โดยมีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันและผันแปรไปตามแหล่งที่พบปลาตะพัดได้ถูกจัดอยู่ในครอบครัว Osteoglossidae ซึ่งปลาในครอบครัวนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 สกุล (genus)โดยทั้ง 4 สกุลนี้จะมีปลาอยู่ 7 ชนิด (species) ซึ่งพอจะแยกออกได้เป็น 3 กลุ่ม

การเลี้ยงปลาตะพัดปลาตะพัด สามารถเลี้ยงได้ทั้งในตู้กระจก ถังไฟเบอร์กลาส บ่อคอนกรีตและบ่อดิน โดยทั่วไปแล้วถ้าเลี้ยงจำนวนไม่มากนัก ผู้เลี้ยงมักนิยมทำเป็นตู้กระจกขนาดใหญ่ไว้ในบ้านภายในตู้มีระบบกรองน้ำ ระบบให้แสงสว่าง และระบบให้อากาศอยู่ตลอดเวลา แต่ละตู้ไม่ควรจะปล่อยปลาลงเลี้ยงหลายตัว เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งปลาจะกัดกันเองส่งผลให้ถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นโดยทั่วไปจึงมักจะนิยมเลี้ยงเพียงตู้ละตัวเท่านั้น เพื่อลดการเสี่ยงต่อการสูญเสียปลาที่หากยากและมีราคาแพง อย่างไรก็ตามหากผู้เลี้ยงมีเวลาดูแลปลาสม่ำเสมอ จะทำให้ปลามีความคุ้นเคย และรู้จักทักทายจะว่ายเข้าหาเมื่อผู้เลี้ยงเข้าไปใกล้ ปลาตะพัดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว กินอาหารได้หลายชนิด ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดสุราษฏร์ธานี ได้ทดลองศึกษาถึงชนิดของอาหารเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาตะพัดสีทองในตู้กระจก โดยเปรียบเทียบอาหาร 4 ชนิด คือ ลูกปลาตะเพียนขาว ลูกกบ-เขียด จิ้งจก และแมลงสาบ หลังจากทดลองเลี้ยงนานหนึ่งปี พบว่า อัตราการเจริญเติบโตของปลาตะพัดที่เลี้ยงด้วยอาหารทั้ง 4 ชนิด ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (เทียนทอง และคณะ,2536) แต่จากการสังเกต พบว่า การเลี้ยงปลาตะพัดที่มีการเปลี่ยนอาหารอยู่เสมอ โดยสลับให้กินหลาย ๆ อย่าง (ดังกล่าวข้างต้น) จะส่งผลให้ปลาตะพัดกินอาหารได้มากขึ้น ได้รับธาตุอาหารสมบูรณ์และส่งผลให้การเจริญเติบโตดีกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารเพียงชนิดเดียว




วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ปลาหมอสี



ปลาหมอตัวแรกที่นำเข้ามาชื่อแจ็คเดมเซย์ต่อมาก็คือออสก้าเป็นปลาหมออีกชนิดหนึ่งเช่นกัน ส่วนประวัติปลาหมอสีที่นำเข้ามานั้นอยู่ในช่วงประมาณ 30 ปี ขึ้นไปจะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่วางไข่อยู่กับพื้น หรือซิคลาโซนา(ciclasona) มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา คือแถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ บราซิล และลุ่มน้ำอะเมซอนเป็นหลักใหญ่ซึ่งได้แก่ ปลาเซวาลุ่มทอง ที่กำลังนิยมอยู่ตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีพวกซิลสไปลุ่ม และปลาหมอมาคูลิคัวด้า กลุ่มที่อมไข่ไว้ในปาก มาจากทะเลสาปอัฟริกาหรืออัฟริกาใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ ปลาที่นิยมเลี้ยงก้จะมาจากทะเลสาปมาลาวีแถว ๆ แถบแทนซาเนียและก็มีพวกแซ พวกซาอี ซึ่งเป็นพวกนิยมจับปลาหมอและก็พวกนี้อีกเช่นกันที่เอาออกมาขายสู่ตลาดโลก ชื่อไทย ปลาออสก้า ชื่ออังกฤษ Oscar , Velvet Cichlid ถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นปลาที่มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ที่ประเทศบราซิล พบในแม่น้ำอเมซอน พารานา ริโอเนโกร รูปร่างลักษณะ ปลาออสก้า เป็นปลาลำตัวกว้างลึก ปัจจุบันปลาออสก้าที่เลี้ยงในเมืองไทย ทั้งปลาออสก้าลายเสือและปลาออสก้าสีทอง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ผสมขึ้นได้เอง ในเมืองไทย ส่วนปลาออสก้าพันธุ์ดั้งเดิมนั้นมีสีค่อนข้างดำ มีเกล็ดสีแดงอยู่เพียงไม่กี่เกล็ด ปลาออสก้าลายเสือ มีลำตัวสีเขียวปนเทาลายข้างตัว เป็นสีส้ม เมื่อมีการให้อาหารอย่างดี คัดเลือกและผสมพันธุ์เรื่อยๆ มา ก็จะได้ปลาออสก้าลายแดง และเพิ่มขึ้นเป็นออสก้าสีทอง และเผือก อุปนิสัย ปลาออสก้าเป็นปลาที่แข็งแรง กินเก่ง นิสัยค่อนข้างดุ


แหล่งกำเนิด แหล่งกำเนิด (Origin) ปลาหมอสีเป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ ทะเลสาบ หนองบึ่ง คูคลองต่างๆ โดยมีแหล่งกำเนิดจาก 2 กลุ่มใหญ่ๆ ในโลก คือ
กลุ่ม New world ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกใหม่ ได้แก่ แถบอเมริกากลาง -ใต้ เช่น แท๊กซัสตอนใต้ ลงมาจนถึงอาเจนตินาของอเมริกาใต้ ,คอสตาริกา ,นิการากัว , บราซิล, ลุ่มแม่น้ำอเมซ่อน, เกาะมาดากาสการ์ , เกาะศรีลังการ, ชายฝั่งทะเลตอนใต้ของอินเดีย ฯลฯ
กลุ่ม Old world ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกเก่า ได้แก่ แถบแอฟริกาใต้, ในทะเลสาบมาลาวี(Lake Malawi ), ทะเลสาบแทนกานยิกา (Lake Tanganyika ), ทะเลสาบวิคตอเลีย(Lake Victoria), แถบแทนซาเนีย ฯลฯ ทะเลสาบมาลาวี ( Lake Malawi ) ทะเลสาบมาลาวี คือแหล่งน้ำและปลา ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติหลักของชาวมาลาวี มีปลามากมายหลากหลายพันธ์ ที่อาศัยอยู่ใน ทะเลสาบแห่งนี้

ปลากัด



ปลากัด เป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบแพร่กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยลักษณะที่อยู่อาศัย : อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนองบึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ ในบริเวณที่มีระดับน้ำตื้นๆ น้ำค่อนข้างใส น้ำนิ่งหรือไหลเอื่อยๆ มีพันธุ์ไม้น้ำขึ้นประปราย ชอบว่ายน้ำช้าๆ บริเวณผิวน้ำ
หรือที่ชาวต่างประเทศรู้จักเป็นอย่างดีในชื่อภาษาอังกฤษว่า Fighting Fish นั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens Regan เป็นปลาเพื้อนเมืองของประเทศไทย เราพบพร่กระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศ สำหรับในต่างประเทศมีที่ มาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา และจีน เป็นต้น....


วิธีการเพาะพันธุ์

นำขวดปลาเพศผู้และเมียมาวางติดกัน วิธีนี้เรียว่า เทียบคู่ ซึ่งควรจะเป็นบริเวณที่ปราศจากสิ่งรบกวน จะทำให้ปลา ตกใจ ใข้เวลาเทียบคู่ประมาณ 3-10 วัน จากนั้นนำปลาเพศผู้และเมียใล่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับผสมพันธุ์ เช่น ขันพลาสติก โหลแก้ว อ่างดิน ใส่น้ำให้มีระดับ 5 เซนติเมตร เพื่อมิให้ตัวผู้เหนื่อยมากเกินไปในขณะที่ลำเลียงไข่ของตัวเมียไปไว้ที่รัง ซึ่งจะทำให้ ไข่เสียหายน้อย แล้วใส่พรรณไม้น้ำที่นิยมใช้ ได้แก่ สาหร่ายพุงชะโด สาหร่ายหางกระรอก จอก ใบผักตบชวา เป็นต้น ควรจะมีฝาปิด ภาชนะที่ผสมพันธุ์ ตัวเมียจะเริ่มก่อหวดติดกับพรรณไม้น้ำ หลังจากสร้างหวอดเสร็จตัวผู้จะพองตีวกางครีบ ไล่ต้อนตัวเมียให้ไป อยู่ใต้หวอด ขณะที่ตัวเมียลอยขึ้นมาบิรเวณผิวน้ำ ปลาตีวผู้จะรัดตัวเมียตรงบริเวณช่องอวัยวะเพศ จากนั้นไข่ก็จะหลุดออกมา พร้อมกับตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม และปลาตัวผู้าจะตามลงไปใช้ปากดูดอมไข่ไว้ ว่ายน้ำขึ้นไปพ่นไข่เข้าไปไว้ในฟองอากาศจนกว่า จะหมด เมื่อสิ้นสุดการวางไข่ปลาตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลไข่เพียงลำพัง และจะไล่ต้อนตัวเมียไปอยู่ที่มุมภาชนะ หลังจากนั้นรีบนำปลา ตัวเมียออกจากภาชนะ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาตัวเมียกินไข่ ปล่อยให้ปลาตัวผู้ดูแลไข่ 2 วัน จึงแยกตัวผู้ออก ต้องระวังการกระแทก ที่จะทำให้ไข่ได้รับการเสียหาย

วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ปลาโนรี


ลำตัวแบนและกว้าง แนวสันโค้งสูงชันขึ้นไปมาก หัวเล็ก จะงอยปากทู่ยื่นออกไปเพียงเล็กน้อย ปากเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 11 – 12 อัน โดยอันที่ 4 ยาวออกไปเป็นเส้นเลยปลายหาง ครีบหูแหลม ครีบทวารยื่นออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยมยอดมน ครีบหางปลายตัดโค้งงอเล็กน้อย ขนาดยาวประมาณ 20 เซนติเมตร พื้นผิวลำตัวสีมุก มีแถบสีดำอมม่วงคาดตามขวางผ่านลำตัว แถบแรกพาดจากก้านครีบแข็ง 3 อันแรก ผ่านครีบหูหลังไปยังครีบท้องและก้านแข็งของครีบท้อง แถบที่สองพาดจากก้านแข็งอันที่ 5 – 8 โค้งลงมาจรดส่วนท้ายของครีบทวาร เหนือจะงอยปากมีรอยแต้มสีดำ 1 รอบ บนหน้าผากระหว่างตาทั้งสองมีแถบสีม่วงดำ พาดขวาง ส่วนครีบต่างๆ มีสีเหลือง ปลาโนรีอาศัยอยู่ตามเกาะแก่งและแนวปะการัง

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ปลาเทวดา


ปลาเทวดา (Angel fish) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมที่อเมริกาใต้ แถบลุ่มน้ำโอริโนโก ลุ่มน้ำอเมซอน เป็นปลาที่มีรูปร่างแบนข้าง ลำตัวกว้างลึก ครีบหลังเป็นกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบด้านท้องก็ทำนองเดียวกัน ครีบหางบางเป็นแพนใหญ่ รูปทรงเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากรมฝีปากค่อนข้างเล็ก ดวงตากลมโต ปลาเทวดาเป้นปลาแปลก บางครั้งรักสงบ ชอบอยู่นิ่ง ๆ ไม่ตื่นตกใจง่าย แต่ในทางตรงกันข้ามในบางครั้งก็มีนิสัยก้าวร้าว หวาดระแวงและขี้ตื่นตกใจ ปลาเทวดาบางตัวเลี้ยงให้คุ้นได้ง่าย แต่บางตัวคุ้นเคยยากมีแต่ความหวาดระแวง ตื่นตกใจและไม่ยอมกินอาหารและเป็นปลาที่ค่ินข้างใจเสาะ เสียชีวิตง่าย ถ้าการเอาใจใส่ดูแลไม่ดีพอ น้ำในตู้เสียหรือผิดปกติไปจากเดิมปลาจะแสดงอาการไม่ปกติทันที ในต่างประเทศเคยใช้วิธีหย่อนอ่างปลาลงไปในขุมเหมืองลึก ๆ ถ้าในขุมเหมืองมีแก๊สพิษ เมื่อดึงขึ้นมาปลาก็จะตาย โดยทั่วไปปลาเทวดาเป็นปลารักสงบ พอจะปล่อยเลี้ยงรวมกันหลาย ๆ ตัวในตู้กระจกที่กว้างขวางพอและมีพันธุ์ไม้น้ำสำหรับเป็นที่หลบอาศัยบ้าง ปลาเทวดาเมื่อจับคู่กันแม่ปลาจะวางไข่ติดกับวัสดุในน้ำเช่น ใบไม้ รากไม้หรือแผ่นหิน การเพาะเลี้ยงลูกปลาเทวดาต้องใช้ฝีมือพอสมควร สำหรับอาหารที่ให้ได้แก่ ไรน้ำ ลูกน้ำ เนื้อกุ้งสับ และอาหารเม็ดสำเร็จรูป เป็นต้น




เป็นปลาแบนข้าง ลำตัวมีความกว้างลึก ครีบหลังกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหางบางเป็นแผ่นใหญ่ รูปร่างของปลาเทวดาเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ดวงตาโตกลม

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปลาผีเสื้อพระจันทร์




ปลาผีเสื้อพระจันทร์ มีลำตัวแบนรูปไข่ แนวสันหลังโค้งมากกว่าด้านท้องหน้าผากลาดชัน ตาอยู่กึ่งกลางของหัว จะงอยปากนูนขึ้นมาเล็กน้อยและยาวกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของตา ปากเล็กตรง ริมฝีปากค่อนข้างหนา ขากรรไกรทั้งบนและล่างยาวเกือบเท่ากัน ฟันบนขากรรไกรเป็นขนแข็ง ๆ คล้ายขนแปรง ซี่เหงือกมี 13 ซี่ เกล็ดบนหัว บนครีบหลัง บนครีบทวารและครีบหางเล็กมาก เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี 38-40 เกล็ด เกล็ดเหนือเส้นข้างตัวมี 7-8 เกล็ด เกล็ดใต้เส้นข้างตัวมี 16-17 เกล็ด ครีบหลังโค้งมนประกอบด้วยก้านครีบแข็ง 12 อัน และก้านครีบอ่อน 23-25 ก้าน ฐานของก้านครีบแข็งของครีบหลังยาวกว่าฐานของก้านครีบอ่อน ครีบอกมนค่อนข้างสั้นกว่าส่วนหัว ครีบเอวปลายแหลมและสั้นกว่าครีบอกเล็กน้อยแต่ยาวรูก้น


พื้นสีตลอดหัว ลำตัวและครีบมีสีเหลือง มีแถบสีดำพาดขวางจากด้านบนของหัวผ่านตาลงมาสุดตอนเหนือของกระดูกหน้าแก้ม บนลำตัวมีรอยขีดเป็นทางสีส้มหรือแดงพาดเฉียงขนานขึ้นไปตามแถวของเกล็ด บริเวณตอนหน้าลำตัวด้านบนเหนือครีบอกมีรอยแต้มสีดำเป็นผืนใหญ่คล้ายรูปสามเหลี่ยมเชื่อมโยงกับแถบสีดำซึ่งพาดเป็นทางยาวโค้งไปตามฐานของครีบหลังไปสุดที่ฐานของครีบหาง แถบสีดำที่ฐานของครีบหางนี้ในปลาขนาดเล็กจะเป็นรอยแต้มกลมสีดำเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปลาการ์ตูนแดง




ปลาการ์ตูนแก้มหนาม หรือการ์ตูนทอง หรือการ์ตูนแดง เป็นปลาชนิดเดียวกัน (species) ลำตัวมีสีส้มแดง เมื่ออายุมากขึ้นสีจะแดงมากขึ้นจนเป็นสีแดงเข้มอมดำ ลำตัวมีแถบสีขาวพาดขวางลำตัว 3 แถบ บริเวณหลังตา กลางลำตัว และโคนหาง ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือมีหนามแหลมบริเวณใต้ตา ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 16 ซ.ม. พบได้ตามรอบนอกของแนวปะการัง และส่วนที่เป็นแนวปะการังลาดชัน มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolorในตลาดซื้อขายปลาสวยงามปลาชนิดนี้ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะสี คือ


1. ปลาการ์ตูนทอง ลักษณะคล้ายกับที่กล่าวมาแต่แถบสีขาวที่พาดขวางลำตัวเป็นสีขาวอมเหลืองทอง และสีแดงบริเวณลำตัวจะเข้มกว่าปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนทองเป็นปลาที่มีราคาแพงเป็นลำดับต้น ๆ ในกลุ่มปลาการ์ตูน


2. ปลาการ์ตูนแดง คล้ายกับปลาการ์ตูนทองแต่แถบที่สีขาวที่พาดขวางลำตัวจะเป็นสีขาว ปลาการ์ตูนแดงจะซื้อขายกันในราคาที่ถูกกว่าปลาการ์ตูนทองประมาณ 1 เท่าตัว

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปลาคาร์ฟ


ปลา่แฟนซีคาร์ฟ (Fancy Carp) เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลาในสกุล (Genus)เดียวกับปลาใน (Crucian Carp) ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cyprinus Carpio line เป็นปลาน้ำจืดที่มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ในบริเวณประเทศอิหร่านในปัจจุบันเป็นเวลาที่สามารถปรับตัวดำรงชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำจืด ที่มีอุณภูมิที่แตกต่างกันได้ดีมาก แม้ในสภาพอากาศร้อน ปลาชนิดนี้ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศได้ จึงแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้ทั่วโลก


ในยุคต้นๆชาวจีนนับเป็นชนชาติแรกที่รู้จักปลาไนซึ่งเป็นต้นตระักูลของปลาแฟนซีคาร์ฟมาเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีล่วงมาแล้ว โดยชาวจีนเรียกปลาไนว่า หลีจื้อ หรือ หลีโกวง ปลาไนน่าจะมีอิทธิพลต่อชาวจีนเป็นอันมาก ซึ่งจะพบหลักฐานอันเก่าแก่ที่สุดของปลาไนปรากฏในภาพเขียนของจีนสมัยราชวงศ์์โจว


เดิมทีปลาไนตามแหล่งน้ำธรรมชาติจะมีเพียงสีดำ สีเทาดำ หรือสีน้ำตาลดำเท่านั้นเมื่อราวปี พ.ศ. 808 -859 ปรากฏว่ามีปลาไนบางตัวกลายพันธุ์เป็นสีส้ม ชาวจีนจึงนิยมนำมาเลี้ยงเพื่อความเป็นสิริมงคลและเพื่อชมความสวยงามจนเป็นที่แพร่หลายต่อมาราวศตวรรษที่ 18 ที่เมืองโอจิยา(Ojiya) ซึ่งอยู่ในจังหวัดนิกาตะ(Neigate) ในปัจจุบันชาวญี่ปุ่นในเมืองนี้ได้นำปลาไนมาเลี้ยงไว้ในบ้านเพื่อประกอบเป็นอาหาร เนื่องจากชาวญุ่ปุ่นกลุ่มหนึ่ง ที่มีอาชีพทำนาตามภูเขาสูงในชนบท ซึ่งมีการคมนาคมที่ไม่สะดวกในยามที่มีหิมะตกชาวญี่ปุ่นไม่สามารถเดินทางออกนอกบ้านไปทำมาหากินได้

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปลาทองปอมปอน (Pompon)




ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ได้ มีลักษณะลำตัวสั้น มองจากด้านบนจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายปลาทองหัวสิงห์แต่แตกต่างกันตรงส่วนหัว โดยผนังกั้นจมูกของปลาทองปอมปอนจะขยายเจริญเติบโตออกมาข้างนอกเป็นพู่ 2 ข้างทำให้แลดูแปลกตาออกไป มีช่วงลำตัวยาวและเพรียวกว่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่น ๆ ปลาทองปอมปอนที่นิยมมากที่สุดคือพันธุ์สีแดงไม่มีครีบหลัง สายพันธุ์ปอมปอนแบ่งออกเป็นปอมปอนหัวสิงห์ ปอมปอนออแรนดา ปลาทองสายพันธุ์นี้บ้านเราไม่ค่อยได้รับความนิยมแพร่หลายมากเท่าใดนัก สาเหตุอาจเป็นเพราะปลาสายพันธุ์นี้โดยมากมีทรวดทรงที่ไม่สวยงามเท่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่นขณะเดียวกันเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ได้ยาก และปลาที่เพาะพันธุ์ได้โดยมากเป็นปลาพิการเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงทำให้ปลาชนิดนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่นักเพาะพันธุ์ปลาระดับมืออาชีพ เนื่องจากเพาะแล้วไม่ค่อยคุ้ม



วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ปลาหมอเซวาลุ่ม


ปลาหมอเซวาลุ่มทอง เป็นปลาที่มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ รูปร่างกลมป้อม มีปลาหมอเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีรูปทรงแบบนี้ ลูกปลาขนาดเล็กๆจะมีสีเหลืองนวล อาจจะมีลวดลายจุดเหลือง ส้มประตามลำตัว ตะเกียบ และครีบก้นจะมีสีเหลืองอมส้มถึงแดง เมื่อปลาโตเต็มที่จุดเหลืองจะเข้มขึ้นเรื่อยๆจนถึงสีแดงลักษณะปลาหมอเซวาลุ่มทองที่มีจุดแดงบนเกล็ดนั้นเป็นลักษณะที่สวยงามมาก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วที่เราพบเห็นส่วนมากจะเป็นเซวาลุ่มแบบที่มีสีพื้นเป็นสีเหลืองเสียมากกว่าไม่มีจุดแดง ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารสำเร็จรูปได้ สามารถเลี้ยงรวมกับปลาหมอจากอเมริกาใต้ อาทิ ปลาหมอเซวาลุ่มเขียว ปลาหมอช๊อกโกแลต

ถิ่นกำเนิดของปลาชนิดนี้อยู่ในลุ่มแม่น้ำอะเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ในธรรมชาติสายพันธุ์ที่พบจะเป็นเซวาลุ่มเขียวว่ากันว่าสายพันธุ์ของเซวาลุ่มเขียวนั้นก็มีสายพันธุ์ย่อยๆลงไปอีก บางตัวจะออกเหลือบเขียวอย่างเด่นชัดในขณะที่บางตัวออกเพียงสีน้ำตาล
ปลาหมอเซวาลุ่ม เป็นปลาหมอสีประเภทวางไข่จากอเมริกาใต้อีกชนิดหนึ่ง ที่แพร่หลายเข้ามาในบ้านเราเป็นเวลานานแล้วจัดเป็นปลาหมอสีที่มีนิสัยสุภาพเรียบร้อยไม่เกเรมากมายเมื่อเทียบกับปลาหมอชนิดอื่นๆ

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ปลาปอมปาดัวร์


ปลาปอมปาดัวร์

ปลาปอมปาดัวร์เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ได้ถูกนำมาเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์จากประเทศต่างๆ จนในปัจจุบันมีปลาปอมปาดัวนับสิบๆสายพันธุ์ มีความสวยงามและสีสันแตกต่างกันออกไปและสวยกว่าพันธุ์ดั้งเดิมมาก สำหรับปลาปอมปาดัวพันธุ์ดั้งเดิมตามหลักสากลได้แบ่งออกเป็น

1. ปอมปาดัวร์ Symphysodon aequifasciata เป็นปลาปอมปาดัวร์ที่มีลักษณะเด่นคือ จะมีเส้นแถบสีดำจางๆพาดขวางบริเวณส่วนหัว ลำตัว และโคนหาง เป็นแนวตั้งรวมทั้งหมด 9 แถบด้วยกัน

2.ปอมปาดัวร์Symphysodon discus ปลาชนิดนี้จะมีเส้นแถบสีดำพาดขวางบริเวณลำตัวอยู่ 9 แถบเช่นเดียวกัน แต่จะมีลักษณะที่พิเศษกว่าชนิดแรก คือจะมีแถบสีดำอยู่ 3 แถบเป็นแถบขนาดใหญ่และสีดำเข้มอยู่ที่บริเวณหัว กลางลำตัวและโคนหาง

นอกจากชนิดพันธุ์ปลาตามหลักสากลดังที่ได้กล่าวมานี้แล้ว ปัจจุบันผู้เพาะพันธุ์ต่างก็พยายามศึกษา และมีการนำสายพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์ชนิดต่างๆ มาทำการผสมข้ามพันธุ์กัน เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีลวดลายแปลกๆใหม่ๆ ชนิดแยกทางไม่ค่อยออกว่าบรรพบุรุษจากปลาปอมชนิดใดแน่ โดยลูกปลาพันธุ์ใหม่ส่วนใหญ่จะมีลวดลายสีสันสวยงามมาก และมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ดังเช่น ปอมปาดัวร์ 7 สี ต้นบรรพบุรุษของปลาพันธุ์นี้คือ Green discus และ Blue discus โดยแต่เดิมที่เพาะกันจะเป็นปลาลายใหญ่ที่มีลวดลายคมชัดทั้งตัวเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในระยะหลังจึงหันมานิยมปลาลายกลางและลายเล็กแทน ทั้งนี้ก็มีสาเหตุเพราะว่าปลาลายกลางและลายเล็กเวลาที่นำไปเลี้ยงย้อมสี เปอร์เซ็นต์การเกิดลวดลายบนตัวปลาจะดีกว่า โดยเฉพาะปลาลายใหญ่ที่ลวดลายไม่คมชัดหรือลวดลายไม่เต็ม อีกทั้งมักจะประสบปัญหาลายแตกออกจนเลอะ ภาษนักเลี้ยงปลาเรียกว่า "เบรอ"นั่นเอง


วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ปลาการ์ตูนส้มขาว


ลำตัวมีสีส้มเข้ม มีแถบสีขาว 3 แถบ พาดบริเวณส่วนหัว ลำตัวและบริเวณหาง ขอบของแถบสีขาวเป็นสีดำ ขอบนอกของครีบเป็นสีขาวและขอบในเป็นสีดำ อาศัยในที่ลึก ตั้งแต่ 1-15 เมตร ขนาดตัวโตที่สุดประมาณ 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla gigantea เป็นต้น ในดอกไม้ทะเลแต่ละกออาจพบปลาการ์ตูนชนิดนี้อยู่ด้วยกัน 6-8 ตัว ปลาการ์ตูนส้มขาวพบได้บ่อยที่สุดในทะเลอันดามัน อ่าวไทยพบได้ที่เกาะโลซิน จังหวัดนราธิวาส อาศัยอยู่เป็นครอบครัวใหญ่